top of page
  • รูปภาพนักเขียนKim Sonmin

ศัลยแพทย์ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับ ‘การผ่าตัดโครงหน้า’

มาตรฐานความงามของภาพลักษณ์ภายนอกนั้นมีอยู่จริงหรือไม่? ซึ่งคำตอบอาจจะ ‘ไม่มี’ ก็เป็นได้

ทว่าเมื่อเข้าสู่ยุคสมัยที่ให้ความเคารพถึงความแตกต่างของกันและกันมากขึ้น ก็ทำให้มาตรฐานของความงามเกิดขึ้นได้อย่างหลากหลาย แต่จุดกึ่งกลางของความงามที่หลากหลายเหล่านั้น คงหนีไม่พ้นโครงหน้าที่เรียวเล็กเป็นรูปไข่ และกลายเป็นปัจจัยที่จำเป็นสำหรับสาวงามหรือหนุ่มหล่อ รวมถึงการทำ ศัลยกรรมปรับรูปหน้า ซึ่งติด TOP3 จากประเภทศัลยกรรมที่ทำมากที่สุดในประเทศเกาหลี

ศัลยแพทย์ คิมทักโฮ (Tako Plastic Surgery)

เพราะเหตุนี้การทำศัลยกรรมปรับรูปหน้าจึงมีความนิยมสูงขึ้น และเกิดข้อสงสัยจากคนไข้ที่มีแพลนจะผ่าตัด ดังนั้นจึงมีการตอบคำถามเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจมากขึ้น โดยศัลยแพทย์ คิมทักโฮ โรงพยาบาลทาโก้ (Tako Plastic Surgery)

Q: ศัลยกรรมปรับรูปหน้า และ ศัลยกรรมขากรรไกร มีข้อแตกต่างกันอย่างไร?

A: ศัลยกรรมขากรรไกรคือการผ่าตัดเพื่อจัดวางตำแหน่งของขากรรไกรบนและล่างให้เข้าที่และเหมาะสม ส่วนใหญ่ในเคสที่โครงหน้าไม่ได้สัดส่วน เช่น ปากยื่น, คางยื่น, หน้าเบี้ยว และ หน้ายาว เป็นต้น สามารถแก้ไขได้โดยการผ่าตัดขากรรไกร

สำหรับศัลยกรรมปรับรูปหน้านั้น เป็นการทำให้โครงหน้าที่มีขนาดใหญ่ มีขนาดเล็กลงและเรียวมากขึ้นผ่านการปรับแต่งกระดูกโครงหน้า

แต่หากใครที่ยังไม่เข้าใจ ให้จดจำอย่างง่ายๆ เช่น กรณีที่ใบหน้าไม่สมมาตร หรือผิดรูป จะต้องได้รับการผ่าตัดขากรรไกร แต่สำหรับกรณีที่ใบหน้าใหญ่ หรือใบหน้ากว้าง จะต้องผ่าตัดกระดูกหน้า

Q: หลังผ่าตัดกระดูกโครงหน้า (ศัลยกรรมปรับรูปหน้า) จะมีแผลเป็นบนผิวด้านนอกหรือไม่?

A: สำหรับการผ่าตัดกระดูกโครงหน้าโดยทั่วไป จะดำเนินการผ่าตัดผ่านการกรีดภายในช่องปาก ซึ่งไม่ใช่การผ่าตัดบนผิวหนังด้านนอก จึงไม่มีรอยแผลเป็น ในส่วนของการลดโหนกแก้มด้านข้าง 45 องศา หรือ การลดกราม อาจมีการผ่าตัดบนผิวหนังบริเวณหลังใบหู แต่กลับไม่มีแผลเป็น เนื่องจากเป็นจุดที่มองไม่เห็น เช่น จอนผม หรือ หลังใบหู อีกทั้งการผ่าตัดจะกรีดให้มีแผลเล็กมากที่สุด จึงไม่ต้องกังวลในเรื่องแผลเป็น

Q: หลังผ่าตัดจะทำให้ผิวหนังบริเวณแก้มหย่อนคล้อยหรือไม่?

A: หากทำศัลยกรรมปรับรูปหน้า จะไม่ทำให้ผิวหนังบริเวณแก้มหย่อนคล้อยอย่างเด็ดขาด เพราะเนื้อและผิวหนังจะกระชับเข้าไปมากเท่ากับที่ตัดกระดูกออกไปนั่นเอง แต่มีบางเคสที่ไม่เป็นเช่นนั้น เช่น ผิวหนังมีความยืดหยุ่นน้อย, เนื้อเยอะ, อายุค่อนข้างมาก หรือ ตัดกระดูกออกมากเกินไป เป็นต้น ดังนั้นการมีผิวหนังหย่อนคล้อยจึงเกิดขึ้นในบางเคส ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลเท่านั้น


เนื้อหาและภาพประกอบจาก  www.tfnews.co.kr เรียบเรียงและแปลเนื้อหาโดย Oppa Me (Global) Co.,Ltd.

ติดตามข่าวสารและปรึกษาศัลยกรรมความงามได้ที่

Line @oppame ,www.oppame.com

ดู 37 ครั้ง0 ความคิดเห็น

コメント


bottom of page